แบบฝึกหัด
1.
ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมความประพฤติการปฏิบัติของสมาชิกแห่งสังคมนั้น
เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความยุติธรรมก่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพ และเพื่อป้องกันรักษาผลประโยชน์ของประชาชน
กฎหมายจึงเหมือนเครื่องมือในการหล่อหลอมกล่อมเกลาความประพฤติการปฏิบัติของประชาชนในสังคมไปตามความต้องการของรัฐ
หากไม่มีกฎหมายสังคมจะเกิดความวุ่นวาย ทำอะไรตามใจตน ทำให้สังคมเกิดความไม่สงบสุข
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
ตอบ การอยู่กันในสังคมจำเป็นต้องมีกฏหมาย
ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน
ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง
ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา
ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม
ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก.
ความหมาย
กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม
ซึ่งใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข.
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ประกอบด้วย
4องค์ประกอบ สรุปได้คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ อยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา
อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ
เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ
2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ รัฎฐาธิปัตย์คือ
ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใครอีก
3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป
ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง
หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ
หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม แม้ว่าการปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ
แต่หากเป็นคำสั่ง คำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่ง คำบัญชา ต้องปฏิบัติตาม
หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืน
ค.
ที่มาของกฎหมาย
1.
กฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายที่บันทึกหลักเกณฑ์ของข้อกฎหมายที่จะให้กระทำหรือไม่ให้กระทำการใดไว้อย่างชัดเจน เป็นตัวกำหนดการใช้กฎหมายของประเทศ เช่น
รัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติ
พระราชกําหนด
พระราชกฤษฎีกา
2.
จารีตประเพณี เป็นการประพฤติปฏิบัติที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
จนเป็นที่ยอมรับว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เสมอด้วยกฎหมาย เช่น การชกมวยบนเวทีซึ่งถือเป็นกีฬาอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นเหตุให้คู่ต่อสู้อีกฝ่ายหนึ่งต้องบาดเจ็บหรือตาย
ก็ย่อมไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฆ่าคนตาย
3. ศาสนา เป็นกฎข้อบังคับที่เกิดจากความเชื่อถือของมนุษย์
โดยมุ่งจะปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณงามความดี ศาสนาทั้งหลายต่างก็มีหลักเกณฑ์และคําสอนที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ละเว้นการกระทำความชั่ว ประพฤติแต่ความดี ขณะเดียวกันกฎหมายเองก็ประสงค์จะไม่ให้บุคคลประพฤติผิด
4.
คําพิพากษาของศาลเป็นคำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูง เป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่ง
ความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้
จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความคิดเห็นของนักกฎหมาย แสดงออกซึ่งความคิดเห็นต่อแนวทางของกฎหมาย
และเป็นผู้สนใจใฝ่รู้และค้นคว้าวิจัยศึกษาถึงกระบวนการของกฎหมาย นักนิติศาสตร์เหล่านี้ได้แสดงออกซึ่งข้อคิดเห็นและข้อโต้แย้งอันมีต่อตัวบทกฎหมาย คําวินิจฉัยหรือคําพิพากษาของศาล
ความคิดเห็นบางเรื่องเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ กฎหมาย
เป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนการกำหนดนโยบายพัฒนาการประเทศให้เจริญก้าวหน้าจำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาบังคับใช้เพื่อให้ผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสังคมมนุษย์เราเป็นอย่างมาก
รวมไปถึง ในด้านการค้าและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เช่น
การที่จะตั้งองค์กรทางธุรกิจจะต้องตั้งในรูปแบบใด - ห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท
เป็นต้น การที่ประเทศแต่ละประเทศจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้
ต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตามทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการ
ดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือโทษต่างๆในกฎหมาย
ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง
ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนอหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างกันแต่ต้องใช้ควบคู่กัน คือ ความรับผิดทางอาญา โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ
เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบกฎหมายประกอบด้วย 4 ระบบ ได้แก่
1.ระบบกฎหมายซีวิล
ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร
จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน
ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่
โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ
2.ระบบกฎหมายคอมมอน
ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี
จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ
เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น
โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป
ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้น
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายน้อยู่ที่รัสเซีย
แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ
ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม
เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน
4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเภณีนิยม
ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้
โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเภณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา
เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า
ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท
แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น
2 ประเภท
กฎหมายภายใน
1.
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้
การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
3.
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
4.
กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน
เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กาหนดระเบียบแบบแผนการใช้อานาจอธิปไตย กาหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
4.2 กฎหมายเอกชน
เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ
กฎหมายภายนอก
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เช่น
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก เป็นต้น
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นต้น
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ หมายถึง การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า
คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า
หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่า
จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า แบ่งได้เป็น 7 ชั้น
1. รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท
บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้5. กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
6.
ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น
เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
เป็นต้น
7. ประกาศคำสั่ง เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ
เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่งหน่วยงานราชการ
เป็นต้น
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมชน
และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน
ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
ตอบ ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายรัฐบาลผิด
การที่รัฐบาลประกาศเป็นพื้นที่ห้ามชุมนุมประชาชนต้องปฏิบัติตามกฏ แต่ในขณะเดียวกัน
รัฐบาลก็มีความผิดที่ใช้แก๊สน้ำตามากเกินไปและ
ลงมือยิงทำร้ายประชาชนจนก่อให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ควรจับกุมลงโทษโดยใช้กฏหมายมากกว่าลงมือกระทำ
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา
คือบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น
ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ
จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย
เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ กฎหมายมีความสำคัญกับการศึกษาโดยตรง และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน
เพราะจะช่วยจัดระเบียบ คุ้มครอง
พัฒนาคุณภาพชีวิต และรับรู้สิทธิอันพึงมีของตัวเอง
ในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งบนผืนแผ่นดินประชาธิปไตย ถ้าหากไม่มีกฏหมายการศึกษา เมื่อไปประกอบวิชาชีพครูแล้วไม่มีความรู้ทางด้านกฏหมายก็จะเกิดผลเสียกับตัวครูเอง
ซึ่งความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้