วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาค

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
                กฏหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ   และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรม
                จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งโดยมากมักจะมุ่งเฉพาะการกระทำภายนอกของมนุษย์เท่านั้น ที่จะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะสังคม
                ส่วน ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคน โดยไม่ได้ถูกจำกัดว่า บุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไร มันเป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งาม ที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม เป็นต้น
ศีลธรรมยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ว่าจะมีแบบแผนหรือโครงสร้างอย่างไร มีแต่เพียงความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่จะเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอนอยู่ในตัวเอง ในส่วนของบทลงโทษก็เช่นกัน การละเมิดศีลธรรมย่อมไม่มีบทลงโทษที่เป็นผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือในทางทรัพย์สินแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประนามหยาบเหยียดจากบุคคลต่างๆในสังคมเท่านั้น
                กฎหมายกับศีลธรรม และจารีตประเพณี มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะกฎหมายเป็นแบบแผน หรือกฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของมุนษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำภายนอกเท่านั้น ในขณะที่ศีลธรรม เป็นเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ และตัวศีลธรรมนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมภายนอกได้เป็นอย่างดี แต่ ไม่ว่า จารีตประเพณี ศาสนา หรือศีลธรรมจะมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเลยก็คือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ในสังคมประพฤติตน หรือกระทำสิ่งต่างๆ ในทางทีดีที่งาม เพื่อความสุขกายสบายใจของตัวผู้ปฎิบัติเอง และเพื่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของบุคคลต่างๆในสังคมเป็นสำคัญ



2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ศักดิ์ของกฎหมายไทย
                การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน
                การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้
                1.  รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่างๆ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด  กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้  หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
                2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
                3.  พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี        ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
                4.  ระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
                5.  กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด (ได้แก่พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด) เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายแม่บท ฉะนั้นกฎกระทรวงก็จะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
                6.  ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นออกโดยอาศัยอำนาจในการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่นได้ต้วยตนเอง ตามพระราชบัญญัติจัดจั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่นข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฉะนั้นข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ จึงขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้
                7.  ประกาศคำสั่ง คสช.  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ  คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น
ประโยชน์การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
                การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายก็เพื่อประโยชน์ในการเริ่มต้นจัดทำร่างกฎหมายว่ากฎหมายประเภทนี้ระดับใดเป็นผู้จัดทำร่างเพื่อตราและประกาศใช้บังคับ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้กฎหมายทราบลำดับชั้นของกฎหมายที่ใช้อยู่ว่าประเภทใด หรือฉบับใดมีศักดิ์และความสำคัญสูงกว่ากัน สามารถพิจารณาตรากฎหมายฉบับใหม่เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกฉบับเดิมได้ตามศักดิ์ของกฎหมาย รวมทั้งกรณีมีปัญหาในการวินิจฉัยและตีความกฎหมาย โดยยึดหลักว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นต้องให้กฎหมายที่มีศักดิ์ระดับเดียวกันหรือสูงกว่ามาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก จึงจะมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)



จากกลอนที่ว่า
อาชีพครูเป็นได้แต่เป็นยาก
มีเพียงปากก็ใช่ว่าจะสอนได้
ต้องใจรักดูแลศิษย์มิเสื่อมคลาย
หวังสบายอย่าหมายมาเป็นครู
                ครูคนนี้ขาด คุณธรรมสำหรับครู ..คือ "เมตตา"  ครูต้องมีความปรารถนาดีต่อศิษย์ และหาวิธีการแก้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  กล่าวคือ คุณครูสามารถทำโทษนักเรียนได้แต่ต้องเป็นการทำโทษที่เหมาะสม มีเหตุผลชัดเจนในการลงโทษว่านักเรียนทำผิดอะไร แล้วการทำผิดดังกล่าวนั้นมีความรุนแรงระดับใด จากนั้นจึงควรลงโทษอย่างสมเหตุสมผล จากกรณีดังกล่าว นักเรียนอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ คุณครูควรนำเด็กไว้ในกรณีพิเศษเพื่อนสอนซ่อมเสริมการอ่าน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นบานที่แตกต่างกัน ครูควรทำความรู้จักผู้เรียนทุกๆคนให้มากกว่านี่เพื่อพบกับปัญหาที่แท้จริงของเด็ก แต่ถึงอย่างไรก็ตามในกรณีนี้ถือว่าคุณครูลงโทษเกินกว่าเหตุ จนเป็นเหตุให้นักเรียนได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ควรเรียกครูคนนี้มาตักเตือนพฤติกรรมหรือหยุดการสอน หากมีการกระทำอีกควรลงโทษตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดซ้ำในสังคมไทย และคุณครูเองก็ควรทบทวนตนเองด้วย ว่าลงโทษนักเรียนรุนแรงไปหรือไม่
4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (คะแนน)
จุดแข็งในตัวเอง
1.             ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน
2.             ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา
3.             สามารถปรับตัวในเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
4.             กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเองสูง
5.             ชอบช่วยเหลือผู้อื่น หรือผู้ที่ด้อยโอกาสมากกว่าเรา
6.             มีความมั่นคงในการตัดสินใจ
จุดอ่อนในตัวเอง
1.             ไม่ชอบอยู่ในกฏเกณ์ที่บังคับจนบางครั้งดูก้าวร้าว
2.             เป็นคนที่ใจไม่มีความรอบคอบ
3.             บางสถานการณ์ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
4.             ใจร้อนและคิดมากเกินไป
โอกาส
1.             มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูง
2.             เป็นคนที่มีพี่น้องที่มีน้ำใจ
3.             เป็นคนที่ได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน
4.             ขายของออนไลน์สามารถหาแหล่งเงินทุนต่างๆมาศึกษาต่อได้
อุปสรรค
1.ในการสอบบรรจุ มีการแข่งขันสูง ขาดความเชื่อมั่น
2. เป็นพี่คนโต น้องทุกคนกำลังเรียนอยู่

 5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (คะแนน)
                การสอนของครูเป็นการสอนแบบให้นักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยอาจารย์จะให้แนวทางมา แล้วให้เราศึกษาด้วยตนเองทั้งในและนอกห้องเรียน โดยโพสผ่าน Blogger ซึ่งดิฉันมีความคิดเห็นว่าดีและไม่จำเจ เพราะการมานั่งเรียนเฉยๆผู้เรียนอาจมีความเบื่อหน่าย เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่ยากและเนื้อหาค่อนข้างไกลไปจากสาขาภาษาอังกฤษอย่างมาก การใช้สื่อเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิชานี้เป็นวิชากฎหมายที่ทันสมัยที่สุด และยังเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆอีกด้วย
ได้รับความรู้และเทคนิคความรู้เรื่องblog เพิ่มขึ้น เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น จากเรียนรู้จาก การแลกเปลี่ยนรู้กับสมาชิกในห้อง ประกอบกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนผ่าน Blog เป็นเรื่องที่ดี น่าสนใจอยากให้อาจารย์นำการสอนนี้ไปใช้กับรุ่นน้องต่อๆไปเรื่อยๆน่ะค่ะ


อนุทินที่ 8

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม

แนวคิดของ SWOT Analysis
SWOT Analysis  เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต  SWOT  เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมายดังนี้
Strengths                            หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses                        หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities                  หมายถึง โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats                                หมายถึง อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

1) หลักการสำคัญของ SWOT  ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค  การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมดำเนินการขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป
2) ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ SWOT                  เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร  ผลจากการวิเคราะห์  SWOT  นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
3) ขั้นตอนวิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis การวิเคราะห์ SWOTจะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล  ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้
(1) การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงาน และทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) ค่านิยมองค์กร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลของวิธีการดำเนินการก่อนหน้านี้ด้วย
- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร 
- จุดอ่อนขององค์กร (W-Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
(2) การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก โดยพิจารณาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ
สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น โครงสร้างประชากร ระดับการศึกษา อัตรารู้หนังสือ การตั้งถิ่นฐาน การอพยพและการย้ายถิ่น ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
สถานะสุขภาพ อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคและภัยสุขภาพของประชากร พฤติกรรมทางสุขภาพ รวมถึงระบบสุขภาพ 
สภาพแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ ผลกระทบจากการเกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น 
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์                ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้ 
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
 (3) ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อมเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้ 
ก. สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive - strategy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่  
ข. สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค)  สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ กลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด    
ค. สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออก คือ กลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้  
ง. สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้นแทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือ ขยายขอบข่ายกิจการ (Diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆแทน


(เพิ่มเติม)
4. ข้อดีและข้อเสีย ของ SWOT
            ข้อดี :
                        1. ใช้ประเมินสภาวะแวดล้อมและสถานภาพขององค์กรโดยเน้นศักยภาพและความพร้อมที่องค์กรมีอยู่และพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคามหรือความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอกรวมทั้งแก้ไขจุดอ่อนขององค์กรด้วยเนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ได้เพิ่มมากขึ้น
                         2.  นำไปใช้ปรับปรุงแนวคิดและแนวปฏิบัติของการจัดทำแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานให้มีโอกาสสร้างความสำเร็จมากขึ้น
                         3.  ทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการทำงานความก้าวหน้าและขีดจำกัดด้านบุคลากร งบประมาณ และระบบงานเป็นการป้องกันการแทรกแซงการทำงานจากปัจจัยภายนอกได้มากขึ้น
            ข้อเสีย:   การวิเคราะห์ SWOT ขององค์กรมีข้อที่ควรคำนึง 4 ประการ (Boseman et al., 1986) คือ
                        1. องค์กรต้องกำหนดก่อนว่า องค์กรต้องการที่จะทำอะไร
                        2. การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคต้องกระทำในช่วงเวลาขณะนั้น
                        3. องค์กรต้องกำหนดปัจจัยหลัก (key success factors) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ถูกต้อง
                        4. องค์กรต้องประเมินความสามารถของตนให้ถูกต้อง





วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
                เหตุผลที่ต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 เพราะกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความ ดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
   ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องุถิ่น
                "ผู้ปกครอง"   บิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
              “เด็กหมายถึง เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว      
               “การศึกษาภาคบังคับหมายถึง การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ         
                “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็ก เข้าเรียน
                กรณีที่ผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตาม มาตราที่ 6 คือ ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามดังกล่าวผู้ปกครองจะมีบทลงโทษตาม มาตราที่ 13 คือ ต้องระวางทาปรับไม่เกิดหนึ่งพันบาท
กรณีที่สอง หากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาผู้ที่อำนาจในการจัดผ่อนผันเด็กเข้าเรียนคือ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใดๆ ตามมาตราที่ 7
                กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษโดยปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท แล้วให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผัน ให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ
                จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ สรุปได้ว่า
อำนาจหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ใน พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการคือ จัดการศึกษา บำรุงรักษา สืบสารศิลปวัฒนธรรม
การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดไว้ 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
ของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการควรคำนึงถึง
คุณวุฒิ ประสบการณ์และมาตรฐานวิชาชีพ , ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
การจัดบริหารราชการส่วนกลางประกอบด้วย ส่วนราชการที่ข้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
-   คณะกรรมการสภาการศึกษากำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ 2546
-   หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง
ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
-   หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้คือ กระทรวงศึกษาธิการ  กรมหรือหน่วยงานเทียบ
เท่ากรม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
-   การจัดรูปแบบการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
-   การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
-   การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างการ จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการ
สื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือ ทุพพลภาค
-   ผู้บังคับข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการและเลขาธิการ
-   ผู้บังคับข้าราชการและสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา คือ

เลขิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

อนุทินที่6

ก. การศึกษา
                 การศึกษา การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่น
 ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

ค. การศึกษาตลอดชีวิต
                กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ง. มาตรฐานการศึกษา
                 มาตรฐานการศึกษา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล และเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา

จ. การประกันคุณภาพภายใน
                การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

ช. การประกันคุณภาพภายนอก
                การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน
                ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาแต่ระดับต่าง ๆ
ฌ. ครู
                ครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้แก่ศิษย์เป็นคนดี
ญ. คณาจารย์
 คือ คณะของครู - อาจารย์
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา
                บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา
                บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา
                ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
                ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6) การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
                หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
                1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
                2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 9)
1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฏหมายมีอะไรบ้าง
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มีสาระสำคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คำหมาน คนไค, 2543, 31)
                1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
                2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
                3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
                1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย 
                2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล
                3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น  เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้  เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชมการสาธิต
การเชื่อมโยงการศึกษาทั้ง 3 ระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                การศึกษาทั้ง 3 ระบบ เป็นวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งสามารถนำไปพัฒนาชีวิตและสังคมจึงต้องมีการผสมผสานการศึกษาทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน กล่าวคือ บุคคลเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัยตั้งแต่เกิดโดยการเลี้ยงดูจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และการเรียนรู้ อยู่ร่วมในชุมชน รวมถึงการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ จึงสรุปได้ว่าการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียนตามหลักสูตร และการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการจากส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ทั้งสายสามัญศึกษา อาชีวศึกษา รวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และโรงเรียนเอกชนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันนี้เยาวชนเกือบทุกคน ต้องเข้ารับการศึกษาตามระบบ การศึกษาในระบบจึงมีบทบาทโดยตรง และมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาคนในทุกด้าน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาคนสำหรับประชาธิปไตยด้วย ทั้งนี้มิได้หมายถึงเฉพาะการจัดการศึกษาในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการศึกษาในกลุ่มสาระอื่นๆด้วย ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆของสถานศึกษาด้วย
8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพได้
นิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน เพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกันเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นบุคคลสมมติขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่และสามารถทำกิจการใดๆ อันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
 1.นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอำนาจจากกฎหมายเอกชน เป็นการดำเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชนและไม่มีอำนาจเหนือบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน
 2.นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายมหาชนที่เป็นการบริการสาธารณะที่เป็นอำนาจมหาชนหรืออำนาจรัฐ

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
- การปรับความคิดของครูมี ความเข้าใจว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ มีอิสระในการคิด ลงมือ ปฏิบัติจริง
- การจัดประสบการณ์เรียนรู้ยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนได้พัฒนาตน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม หลังเรียนหรือหลังฝึกกิจกรรม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตน
- การยึดชีวิตจริง  เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่าง มีวิจารณญาณ มีรูปแบบการคิดของตนเอง ไปใช้ในชีวิตจริงได้
- การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักความแตกต่างระหว่าง บุคคล
- การจัดประสบการณ์โดยใช้ คุณธรรมในการจัดประสบการณ์ทุกกลุ่มวิชา และทุกขั้นตอนในการจัดการ เรียนรู้
- การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้กระบวนการเรียน รู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้วิธีวัดและประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง
10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
เห็นด้วย เพราะในสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาใด ๆทั้งของรัฐและเอกชน ต้องเป็นผู้ได้รับ"ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"แล้วเท่านั้นเพราะเป็นสิ่งที่สามารถคัดครองบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพเข้ามาทำหน้าที่เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนการสอนของนักเรียนได้

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างไรบ้าง
 1. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
 2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ
 3. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
 4. ดำเนินการวางแผนการระดมทรัพยากร ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 5. ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง จัดประชุม
6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีพัฒนาได้อย่างไร
1. จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต
3. ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต
4. ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

5. ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา