วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4

แบบฝึกหัดทบทวน

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
                ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ คณะราษฎร ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า 
                ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่ง กฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
                  หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
- มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
                หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
- มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
- มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
- มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม่อุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
- มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3.      เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช  2511   พุทธศักราช  2517  และ พุทธศักราช  2521  เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
                แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกัน คือ รัฐส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและตามความต้องการของประเทศ และการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง  และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่  ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่งเสริมในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ  การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ

4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
                แตกต่างกัน  คือ      รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490  มีประเด็นทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาเพียงมาตราเดียว คือ มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
                แต่รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหลายมาตารา  ได้แก่ มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย   มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำ เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ  มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย          
        ต่างกัน คือ ปีพุทธศักราช 2521-2534  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สามวาระ โดยยึดถือแนวทางอันเป็นปณิธานร่วมของปวงชนชาวไทย
            ปีพุทธศักราช 2540-2550 ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            ปีพุทธศักราช 2521-2534 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลอากาศเอก หะรินหงสกุล ประธานสภา นิติแห่งชาติ
            ปีพุทธศักราช 2540-2550 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา
                รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534  รัฐทำหน้าที่ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาและสถานศึกษาทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ โดยรัฐมีการช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนในการศึกษา  และสำหรับการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่นจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  แต่รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
                สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างทั่วถึง เพราะว่าต้องการให้การจัดการศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบ และต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันมีความเท่าเทียมกันและมีความทั่วถึง ซึ่งสังคมในปัจจุบันมีประชาชนและผู้คนหลากหลายรูปแบบที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่มีพื้นฐานความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันจึงมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องระบุและจัดการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันภายในสังคมไม่เกิดความเหลื่อมล้ำกันและกัน นี่คือประเด็นที่รัฐธรรมนูญต้องจัดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและมีทุกพุทธศักราชที่พูดเกี่ยวกับการศึกษา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
                คือ บุคคลให้มีการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติก็เพราะว่าตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย ส่วนที่8สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตรา49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า12ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายหากบุคคลนั้นปฏิบัติตามก็จะเกิดความคุ้มครองจากรัฐแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎของรัฐคงไม่มีโอกาสได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
                รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คิดว่าการศึกษาก็จะมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงได้ตรงจุดมากขึ้น เพราะองค์กรส่วนท้องถิ่นจะสามารถตีโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือความต้องการของลูกหลานได้ว่าต้องการศึกษาในรูปแบบใด มีข้อบกพร่องตรงส่วนไหน นี่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการให้องค์กรได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของลูกหลานของตนเอง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
                สาเหตุที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส เพราะโอกาสของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน สิทธิและเสรีภาพจึงมีความสำคัญเพราะแต่ละคนนั้นย่อมมีความต้องการที่จะให้ชีวิตของตนเองเดินไปในทิศทางที่ดีและมีภูมิคุ้มกันคอยหุ้มเกราะชีวิตตลอดเวลา
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

                การจัดการศึกษาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อคือพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบโดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่ คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ประชาชนได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น และยังปิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น