วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาค

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
                กฏหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ   และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรม
                จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งโดยมากมักจะมุ่งเฉพาะการกระทำภายนอกของมนุษย์เท่านั้น ที่จะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะสังคม
                ส่วน ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคน โดยไม่ได้ถูกจำกัดว่า บุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไร มันเป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งาม ที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม เป็นต้น
ศีลธรรมยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ว่าจะมีแบบแผนหรือโครงสร้างอย่างไร มีแต่เพียงความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่จะเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอนอยู่ในตัวเอง ในส่วนของบทลงโทษก็เช่นกัน การละเมิดศีลธรรมย่อมไม่มีบทลงโทษที่เป็นผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือในทางทรัพย์สินแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประนามหยาบเหยียดจากบุคคลต่างๆในสังคมเท่านั้น
                กฎหมายกับศีลธรรม และจารีตประเพณี มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะกฎหมายเป็นแบบแผน หรือกฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของมุนษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำภายนอกเท่านั้น ในขณะที่ศีลธรรม เป็นเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ และตัวศีลธรรมนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมภายนอกได้เป็นอย่างดี แต่ ไม่ว่า จารีตประเพณี ศาสนา หรือศีลธรรมจะมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเลยก็คือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ในสังคมประพฤติตน หรือกระทำสิ่งต่างๆ ในทางทีดีที่งาม เพื่อความสุขกายสบายใจของตัวผู้ปฎิบัติเอง และเพื่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของบุคคลต่างๆในสังคมเป็นสำคัญ



2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ศักดิ์ของกฎหมายไทย
                การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน
                การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้
                1.  รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่างๆ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด  กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้  หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
                2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
                3.  พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี        ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
                4.  ระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
                5.  กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด (ได้แก่พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด) เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายแม่บท ฉะนั้นกฎกระทรวงก็จะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
                6.  ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นออกโดยอาศัยอำนาจในการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่นได้ต้วยตนเอง ตามพระราชบัญญัติจัดจั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่นข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฉะนั้นข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ จึงขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้
                7.  ประกาศคำสั่ง คสช.  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ  คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น
ประโยชน์การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
                การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายก็เพื่อประโยชน์ในการเริ่มต้นจัดทำร่างกฎหมายว่ากฎหมายประเภทนี้ระดับใดเป็นผู้จัดทำร่างเพื่อตราและประกาศใช้บังคับ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้กฎหมายทราบลำดับชั้นของกฎหมายที่ใช้อยู่ว่าประเภทใด หรือฉบับใดมีศักดิ์และความสำคัญสูงกว่ากัน สามารถพิจารณาตรากฎหมายฉบับใหม่เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกฉบับเดิมได้ตามศักดิ์ของกฎหมาย รวมทั้งกรณีมีปัญหาในการวินิจฉัยและตีความกฎหมาย โดยยึดหลักว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นต้องให้กฎหมายที่มีศักดิ์ระดับเดียวกันหรือสูงกว่ามาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก จึงจะมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)



จากกลอนที่ว่า
อาชีพครูเป็นได้แต่เป็นยาก
มีเพียงปากก็ใช่ว่าจะสอนได้
ต้องใจรักดูแลศิษย์มิเสื่อมคลาย
หวังสบายอย่าหมายมาเป็นครู
                ครูคนนี้ขาด คุณธรรมสำหรับครู ..คือ "เมตตา"  ครูต้องมีความปรารถนาดีต่อศิษย์ และหาวิธีการแก้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  กล่าวคือ คุณครูสามารถทำโทษนักเรียนได้แต่ต้องเป็นการทำโทษที่เหมาะสม มีเหตุผลชัดเจนในการลงโทษว่านักเรียนทำผิดอะไร แล้วการทำผิดดังกล่าวนั้นมีความรุนแรงระดับใด จากนั้นจึงควรลงโทษอย่างสมเหตุสมผล จากกรณีดังกล่าว นักเรียนอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ คุณครูควรนำเด็กไว้ในกรณีพิเศษเพื่อนสอนซ่อมเสริมการอ่าน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นบานที่แตกต่างกัน ครูควรทำความรู้จักผู้เรียนทุกๆคนให้มากกว่านี่เพื่อพบกับปัญหาที่แท้จริงของเด็ก แต่ถึงอย่างไรก็ตามในกรณีนี้ถือว่าคุณครูลงโทษเกินกว่าเหตุ จนเป็นเหตุให้นักเรียนได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ควรเรียกครูคนนี้มาตักเตือนพฤติกรรมหรือหยุดการสอน หากมีการกระทำอีกควรลงโทษตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดซ้ำในสังคมไทย และคุณครูเองก็ควรทบทวนตนเองด้วย ว่าลงโทษนักเรียนรุนแรงไปหรือไม่
4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (คะแนน)
จุดแข็งในตัวเอง
1.             ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน
2.             ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา
3.             สามารถปรับตัวในเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
4.             กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเองสูง
5.             ชอบช่วยเหลือผู้อื่น หรือผู้ที่ด้อยโอกาสมากกว่าเรา
6.             มีความมั่นคงในการตัดสินใจ
จุดอ่อนในตัวเอง
1.             ไม่ชอบอยู่ในกฏเกณ์ที่บังคับจนบางครั้งดูก้าวร้าว
2.             เป็นคนที่ใจไม่มีความรอบคอบ
3.             บางสถานการณ์ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
4.             ใจร้อนและคิดมากเกินไป
โอกาส
1.             มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูง
2.             เป็นคนที่มีพี่น้องที่มีน้ำใจ
3.             เป็นคนที่ได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน
4.             ขายของออนไลน์สามารถหาแหล่งเงินทุนต่างๆมาศึกษาต่อได้
อุปสรรค
1.ในการสอบบรรจุ มีการแข่งขันสูง ขาดความเชื่อมั่น
2. เป็นพี่คนโต น้องทุกคนกำลังเรียนอยู่

 5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (คะแนน)
                การสอนของครูเป็นการสอนแบบให้นักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยอาจารย์จะให้แนวทางมา แล้วให้เราศึกษาด้วยตนเองทั้งในและนอกห้องเรียน โดยโพสผ่าน Blogger ซึ่งดิฉันมีความคิดเห็นว่าดีและไม่จำเจ เพราะการมานั่งเรียนเฉยๆผู้เรียนอาจมีความเบื่อหน่าย เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่ยากและเนื้อหาค่อนข้างไกลไปจากสาขาภาษาอังกฤษอย่างมาก การใช้สื่อเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิชานี้เป็นวิชากฎหมายที่ทันสมัยที่สุด และยังเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆอีกด้วย
ได้รับความรู้และเทคนิคความรู้เรื่องblog เพิ่มขึ้น เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น จากเรียนรู้จาก การแลกเปลี่ยนรู้กับสมาชิกในห้อง ประกอบกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนผ่าน Blog เป็นเรื่องที่ดี น่าสนใจอยากให้อาจารย์นำการสอนนี้ไปใช้กับรุ่นน้องต่อๆไปเรื่อยๆน่ะค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น